8/10/2552

โบท๊อกซ์...คืออะไร

โบท็อกซ์ มีชื่อเต็มคือ โบทูลินัม ท็อกซิน (botulinum toxin) เป็นสารพิษที่รู้จักกันมานานแล้วว่าทำให้เกิดโบลูซึ่ม (botulism) ซึ่งมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นอัมพาตหายใจขัด และเสียชีวิตได้
พบโรคนี้ในคนที่กินอาหารกระป๋อง และในไทยที่พบบ่อยคือ ในหน่อไม้บรรจุปี๊บที่มีสารพิษปะปนอยู่ คำว่า botulism มาจากภาษาละตินแปลว่าไส้กรอกมีรายงานโรคมาเกือบ 200 ปี ว่ามีผู้กินไส้กรอกแล้วหมดเรี่ยวแรง โดยพบว่าพิษที่สกัดจากไส้กรอก คือสารพิษโบทูลินัมที่สร้างโดยเชื้อแบคที่เรีย Clostridium botulinum ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับเชื้อบาดทะยัก แต่ในทางการแพทย์นำใช้ในขนาดที่ต่ำกว่าจึงไม่เกิดอันตราย ใน พ.ศ. 2513 ได้นำโบทูลินัม ท็อกซินมาใช้รักษาอาการหนังตากระตุก ตาเข กล้ามเนื้อใบหน้าแข็งเกร็งครึ่งซีก เหงื่อออกมาก ปวดศรีษะชนิดไมเกรน และปวดหลังด่านล่าง ในด้านความงามนิยมใช้สารพิษตัวนี้รักษารอยย่นที่หัวคิ้ว หน้าผาก และรอยตีนกา และใช้รักษาเหงื่อออกมากที่รักแร้และกลิ่นตัว
ข้อควรระวังของผู้ที่รับการฉีดยาตัวนี้
1.ต้องงดการกินยาแก้ปวดจำพวกแอสไพรินและยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs (เช่น diclofenac, indomethacin, ibuprofen, piroxicam) และกลุ่มยาลดเกร็ดเลือดและลดการแข็งตัวของเลือดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนการฉีด
2.ต้องไม่ใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (เช่น amikacin, kanamycin, tobramycin)
3.ห้ามนวดคลึงบริเวณที่รับการฉีดยา แต่ควรเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดที่ได้รับการฉีดทุก 15 นาที เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
4.ห้ามนอนราบ 2-3 ชั่วโมงหลังฉีดยา
5.ห้ามฉีดในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตร ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ขาว เพราะตัวยามีส่วนประกอบของสารนี้อยู่ ผู้ที่มีการติดเชื้อที่ผิวหนังตำแหน่งที่จะฉีด และผู้ที่คาดหวังผลลัพธ์สูงจนสูงเกินไป
ข้อแทรกซ้อนที่พบได้
คือรอยช้ำจ้ำเลือดซึ่งพบได้บ่อยเมื่อฉีดบริเวณตีนกา ปวดบวมบริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมงหลังฉีดหนังตาบนตก ซึ่งมักหายไปเองใน 2 สัปดาห์ และอาจทำให้ใบหน้าแลดูไม่เป็นธรรมชาติ แสดงสีหน้าไม่ได้ ปัจจุบันยังคงมีการวิจัย ถึงการนำโบทูลินัม ท็อกซิน มาใช้ในวัตถุประสงค์อื่นๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอด ทั้งนี้ในแง่การเสริมความงามและการรักษาโรค เช่น ใช้สารพิษนี้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณกรามของผู้ที่มีใบหน้ารูปสี่เหลี่ยมเพื่อทำให้ใบหน้าเรียวขึ้น ฉีดเข้ากล้ามเนื้อน่องของผู้ที่มีน่องโตเพื่อให้ขาดูเรียวขึ้น ในด้านการรักษาโรคอื่นๆ เช่น ฉีดสารเข้ากล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเพื่อรักษาอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ฉีดเข้ากล้ามเนื้อกระเพาะอาหารเพื่อให้กระเพาะอาหารคลายตัวจึงรู้สึกอิ่มนานขึ้น ลดความอ้วนได้ และยังทำให้กล้ามเนื้อที่ดันให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหารคลายตัว จึงลดอาการของโรคกรดไหลย้อน ฉีดลดอาการเจ็บปวดขณะร่วมเพศที่มีสาเหตุจากการเกร็งตัวของช่องคลอด ฉีดรักษาอาการพูดไม่ได้จากการมีเส้นเสียงเกร็งตัว และฉีดรักษาโรคเท้าปุกเท้าแป จึงเห็นได้ว่างานวิจัยและการนำมาใช้ในการแพทย์ของสารพิษตัวนี้กว้างขวางมาก
สำหรับผุ้ที่จะฉีดโบท็อกซ์เพื่อเสริมความงามเพราะจำเป็นต้องใช้ใบหน้าในงาน สำคัญนั้น แนะนำให้ฉีดก่อนวันงาน 1 เดือน เพราะในกรณีที่เกิดข้อแทรกซ้อน ก็จะมีช่วงเวลาที่พอทำให้ข้อแทรกซ้อนหายไป อีกทั้งหลังการฉีดในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ใบหน้าอาจยังดูไม่เป็นธรรมชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น