8/11/2552

การรักษาแผลเป็นชนิดหลุมจากสิว

แผลเป็นชนิดหลุมจากสิว (atrophic acne scar) เป็นแผลที่พบได้บ่อย เกิดตามหลังการหายจากการเป็นสิวชนิดที่มีการอักเสบ (inflammatory acne) พบได้บ่อยในวัยรุ่นตอนปลายหรือเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แผลมักจะดีขึ้นได้บ้างเมื่อเวลาผ่านไป รอยแดงลดลงและตื้นขึ้น แต่ในกรณีที่แผลลึกหรือมีผังผืดเกิดขึ้น มักจะดีขึ้นไม่มาก

ชนิดของแผลจากสิว
1.แผลแดง (telangiectatic)
2.แผลหลุมตื้น (rolling)
3.แผลหลุมลึก (boxcar)
4.แผลหลุมเล็กและลึก (pitted)
5.แผลชนิดนูน (hypertrophic)

การรักษาชนิดลอกผิว ด้วยแสงเลเซอร์ (abalative laser)
ข้อบ่งชี้
1.แผลเป็นชนิดแผลหลุมลึก และแผลหลุมลึกมีพังผืด (ชนิดที่ 3, 4 และ 5 ) ที่มีจำนวนมากและเป็นบริเวณกว้าง
2.สิวอักเสบหายแล้วอย่างน้อย 6 เดือน
3.ถ้ากินยาประเภท retinoid จะต้องหยุดยาแล้วนานกว่า 1 ปี

ข้อห้ามในการรักษา
1.สิวยังอักเสบอยู่
2.มีประวัติคีลอยด์
3.มีประวัติโรคเริมบริเวณใบหน้า

วิธีการรักษา
1.แสงเลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์
2.แสงเลเซอร์ Er:YAG

การรักษาชนิดไม่ลอกผิว (non-ablative)
ข้อบ่งชี้
1.แผลเป็นจากสิวทุกชนิด
2.ผู้ป่วยไม่ต้องการให้มีแผลบนใบหน้า

หลักในการรักษาด้วยวิธี non-ablative
1.ไม่จำเป็นต้องรอให้สิวสงบเป็นระยะเวลานาน สามารถให้การรักษาแผลจากสิวไปพร้อมๆกับการรักษาสิว
2.ควรเป็นวิธีผสมระหว่างวิธีการทำลายพังผืดรอบๆแผล ได้แก่ วิธี subcision และวิธีกระตุ้นสร้างคอลลาเจนใหม่

วิธีการรักษา
1.การฉายแสงความเข้มสูง (IPL,FPL)
2.การฉายแสง long-pulse Nd-YAG 1,064 nm or 1,320 nm
3.การฉายแสง pulsed dye 585 nm
ปัญหาและภาวะแทรกซ้อน
Ablative laser : มีปัญหาค่อนข้างมาก เช่น บวมอักเสบ แผลติดเชื้อ เกิดรอยดำ (post inflammatory hyperpigmentation) เกิดรอยด่างขาว เกิดแผลเป็น เป็นต้น

Non-ablative laser : มีปัญหาน้อยกว่า แต่อาจมี ได้แก่
1.แผลติดเชื้อหลังทำ subcision
2.เกิดรอยดำหลังฉายแสงเลเซอร์หรือแสงความเข้มสูง โดยเฉพาะคนที่มีผิวสีเข้ม
3.เกิดแผลเป็นนานในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นแผลง่าย
4.เกิดแผลหลุมขึ้นมาใหม่ สาเหตุสำคัญเกิดจากการที่พังผืดกลับมาใหม่และดึงผิวหนังลงไป
ที่มา: เลเซอร์ในเวชสำอาง